บริการ 10 คู่สายอัตโนมัติ

042 870 000 บริการ 10 คู่สายอัตโนมัติ

บทความเพื่อสุขภาพ

เมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ...! ควรปฏิบัติตัวอย่างไร..?

5/13/19, 7:12 AM

ผู้สูงอายุ คือ คนทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ได้แก่ การสูญเสียฟัน ผิวหนังเหี่ยวย่น สีผมเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือขาว การมองเห็นลดลง การรับรู้เสียงลดลง ร่างกายเคลื่อนไหวน้อยลง ความจำน้อยลง ความต้องการทางเพศลดน้อยลงหรือหมดไป และเสื่อมสภาพทางร่างกายและอวัยวะภายในเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตในที่สุด

ความรุนแรงของความเสื่อมของร่างกายยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้สูงอายุนั้นๆด้วย ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุที่ทำให้การช่วยเหลือตัวเองลดลง รวมถึง เบาหวาน มะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคทางตาและประสาทหูเสื่อม ความจำเสื่อม กระดูกพรุน และหักง่าย เส้นเลือดสมอง เข่าเสื่อม การดูแลสุขภาพของผู้เข้าสู่วัยสูงอายุควรเริ่มตั้งแต่การป้องกัน การตรวจสุขภาพ และการดูแลรักษาหลังตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพเน้นตรวจสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง เบาหวาน ความดันโลหิต ภาวะการทำงานของไต ไขมันในเลือด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก และตรวจพิเศษตามความเสี่ยงด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล เช่น เอกซเรย์ปอดในผู้มีประวัติสูบบุหรี่จัด การตรวจวัดสายตาและการได้ยินเมื่อมีอาการผิดปกติ ผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และวัคซีนคอตีบและบาดทะยักซึ่งจะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและนอนโรงพยาบาลได้

การดูแลตนเอง เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ควรรับประทานอาหาร จำพวกผักและเส้นใยมากขึ้น ดื่มนมไขมันต่ำแคลเซียมสูง ลดเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารหวาน เหล้า บุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารเสริมหรือสมุนไพร หรือปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน การออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย ให้เริ่มออกแรงตามขีดความสามารถแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น จนถึงออกกำลังที่ได้กำลังระดับปานกลางที่ทำให้หายใจแรงขึ้น แต่ยังสามารถพูดได้จบประโยค (ไม่เหนื่อยหอบ) แล้วค่อยๆเพิ่มวันเป็นระยะเวลา 30 นาที : 3-5 วัน ต่อสัปดาห์ หรือเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ทำงานบ้าน เดินไปทำธุระ ทำสวนอย่างน้อยวันละ 30 นาที และการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินวันละ ครึ่ง ซม. การรำไทเก็ก เต้นรำ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เหนือสิ่งอื่นใด คือ ครอบครัวเข้าใจภาวะการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุทั้งทางร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการมีลูกหลานคอยพูดคุย ดูแล ห่วงใย ส่งผลต่อภาวะสุขภาพกาย และสุขภาพจิต และส่งผลต่อการเพิ่มให้คุณภาพชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น

นัดหมายแพทย์

ติดต่อสอบถาม


แพ็กเกจคลอดคุณภาพ