บริการ 10 คู่สายอัตโนมัติ

042 870 000 บริการ 10 คู่สายอัตโนมัติ

บทความเพื่อสุขภาพ

โรคไฮแปงไจน่า

8/15/22, 8:21 AM

รู้จัก โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina) โรคตุ่มแผลในปากเด็กโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มคอกซากีไวรัสกรุ๊ปเอ (Coxsackie viruses A sero type 1 – 10, 16 และ 22) และเอ็นเทอร์โรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับโรคมือ เท้า ปาก พบบ่อยในเด็กอายุ 3 – 10 ปี

โรคเฮอร์แปงไจน่า ติดต่อได้อย่างไร? การติดต่อเกิดขึ้นได้จากการสัมผัส หรือรับประทานสิ่งที่ปนเปือนกับเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจน่ามักพบได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 10 ปี ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อนี้เพียงพอ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่รวมกันในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานเลี้ยงเด็ก เพราะเด็กมักเล่นของเล่นร่วมกัน หยิบจับสิ่งของร่วมกัน ดังนั้นโรคนี้จึงมักระบาดได้ง่าย เพราะมีโอกาสติดต่อได้ง่าย โดยเชื้อนี้จะอยู่ได้นานในอากาศเย็น และชื้น จึงมักระบาดมากในฤดูฝน แต่ก็สามารถพบได้ตลอดทั้งปี

อาการของโรค อาการของโรคแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ที่พบได้คือ มีไข้แบบเฉียบพลัน ได้รับยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น และอาจมีไข้สูง 40 องศา เด็กบางคนอาจมีอาการชักจากไข้สูง กลืนลำบาก ทำให้ปฏิเสธอาหาร เบื่ออาหาร น้ำลายไหล อาเจียน อาจพบมีภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น ริมฝีปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย พบแผลในปาก เป็นแผลเล็กๆ หลายแผลบริเวณเพดานอ่อน ต่อมทอนซิล ผนังคอด้านหลัง ลักษณะของแผลที่พบจะเกิดใน 2 วันหลังการติดเชื้อ โดยแผลมีขนาด 2-4 มิลลิเมตร สีขาวหรือเทาอ่อนมีขอบแดง ซึ่งส่วนใหญ่แผลหายภายใน 7 วัน แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะรอยแผลในปาก โดยเฮอแปงไจน่าจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากแผลจากโรคอื่นๆ ทั้งนี้แพทย์จะซักประวัติอาการป่วย เพิ่มเติมอย่างละเอียด

โรคมือ เท้า ปาก VS เฮอร์แปงไจน่า แตกต่างกันอย่างไร? แม้ว่า “โรคมือ เท้า ปาก” และ “เฮอร์แปงไจน่า” เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่อาการแสดงแตกต่างกัน คือ โรค มือ เท้า ปาก จะมีไข้ มีผื่น ตุ่มน้้าใส หรือเม็ด แดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายอาจมีอาการ อาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง ร่างกายขาดน้้า ปอดบวมน้้า หอบเหนื่อย ซึม ชัก เกร็ง ช็อกเสียชีวิต ส่วน “โรคเฮอร์แปงไจน่า” จะไม่พบผื่นบริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า จะสังเกตอาการของโรคนี้ได้ค่อนข้างลำบากในช่วงแรก ต่อเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้นจึงจะสามารถสังเกตอาการได้ บางรายอาจพบเพียงผื่น และแผลตื้น ๆ กราย ๆ ในช่องปาก เท่านั้น การรักษา โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เองเนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียารักษาเฉพาะการรักษา เป็นเพียงการรักษา ตามอาการ เช่น มีไข้ เช็ดตัวลดไข้ ให้รับประทานยาลดไข้ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการอื่นๆ ลดความเจ็บปวดจากผื่นแผลในปาก กระตุ้นให้ดื่มน้้า และรับประทานอาหารเหลวทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง หากรับประทานอาหารได้น้อย และมีภาวะขาดน้้าเกิดขึ้น ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อยลงและมีสีเหลืองเข้ม ให้รีบไปพบแพทย์

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์? คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกหากมีอาการ ดังนี้

1.เมื่ออาการไข้ไม่ลดลงจะเป็น 3 วัน หรือไข้สูงไม่ยอมลด แม้เช็ดตัวและทานยาลดไข้แล้ว

2.ทานอาหารไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลง

3.ซึมลง

วิธีป้องกัน วิธีป้องกันโรคนี้ คือ พยายามอย่าอยู่ใกล้คนที่มีเชื้อ หากลูกไม่สบายควรให้หยุดเรียน ล้างมือก่อนทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง และสร้างสุขลักษณะนิสัยให้เด็กๆ ระวังการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก สิ่งของ ของเล่นต่างๆ ของเด็กที่เป็นโรค

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อายุรกรรม

นัดหมายแพทย์

ติดต่อสอบถาม